Monday, July 8, 2013

บันทึกการเรียน ครั้งที่4

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วันที่ 8 กรกฎาคม 2556
กลุ่มเรียน101   วันจันทร์  เวลา 08.30-12.20น.

เนื้อหาที่เรียน
   -อาจารย์ให้นักศึกษาทำสมุดภาพเคลื่อนไหว
   -อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนออกมานำเสนอสื่อของเล่น
   -อาจารย์ให้นักศึกษาดู VDO เรื่อง"อากาศมหัศจรรย์"  คลิ๊กเพื่อชม
ความรู้ที่ได้รับ
     -ได้รู้เรื่องการทำภาพเคลื่อนไหวโดยใช้ ทฤษฎีภาพติดตา
     -ได้เห็นสื่อของเล่นต่างๆที่เพื่อนนำมาเสนอ
บรรยากาศในการเรียน
     -เพื่อนๆให้ความสนใจในการเรียนและตั้งใจชม VDO เรื่อง"อากาศมหัศจรรย์"  
การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้
      -ได้รับความรู้เรื่องอากาศมากยิ่งขึ้น และ ได้เห็นตัวอย่างการทำสื่อของเล่น เพื่อนำไปปรับใช้ในการผลิตสื่อที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้

เพิ่มเติม
          หลักการที่อธิบายถึงการมองภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ หรือทฤษฎีการเห็นภาพติดตา คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) โดยนักทฤษฎีและแพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อ Dr. John Ayrton Paris ทฤษฎีดังกล่าวอธิบายถึงการมองเห็นภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ไว้ว่า ธรรมชาติของสายตามนุษย์ เมื่อมองเห็นภาพใดภาพหนึ่ง หลังจากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังค้างภาพนั้นไว้ที่เรติน่าในชั่วขณะหนึ่ง ประมาณ 1/15 วินาที และหากในระยะเวลาดังกล่าวมีภาพใหม่ปรากฏขึ้นมาแทนที่สมองของมนุษย์จะเชื่อม โยงสองภาพเข้าด้วยกัน และหากมีภาพต่อไปปรากฏขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็จะเชื่อมโยงภาพไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าชุดภาพนิ่งที่แต่ภาพนั้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยหรือเป็นภาพที่มี ลักษณะขยับเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันอยู่แล้ว เมื่อนำมาเคลื่อนที่ผ่านตาเราอย่างต่อเนื่องในระยะเวลากระชั้นชิด เราจะสามารถเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้
         อย่างไรก็ตาม มีเคล็ดลับประการหนึ่ง ก็คือ ก่อนที่จะเปลี่ยนภาพใหม่จะต้องมีอะไรมาบังตาเราแว่บหนึ่ง แล้วค่อยเปิดให้เห็นภาพใหม่มาแทนที่ตำแหน่งเดิม โดยอุปกรณ์ที่บังตาคือซัตเตอร์ (Shutter) และระยะเวลาที่ซัตเตอร์บังตาจะต้องน้อยกว่าเวลาที่ฉายภาพค้างไว้ให้ดู มิฉะนั้นจะมองเห็นภาพกระพริบไป ดังนั้น เมื่อเอาภาพนิ่งที่ถ่ายมาอย่างต่อเนื่องหลาย ๆ ภาพมาเรียงต่อกัน แล้วฉายภาพนั้นในเวลาสั้น ๆ ภาพนิ่งเหล่านั้นจะดูเหมือนว่าเคลื่อนไหว หลักการนี้จึงถูกนำมาใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation) และภาพยนตร์ในระยะเวลาต่อมา

No comments:

Post a Comment