Monday, July 29, 2013

บันทึกการเรียน ครั้งที่8


วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วันที่ 29 กรกฎาคม 2556
กลุ่มเรียน101   วันจันทร์  เวลา 08.30-12.20น.



-ไม่มีการเรียนการสอน แต่ให้นักศึกษาทุกคนเตรียมการนำเสนอสื่อของเล่นของตนเองมานำเสนอในสัปดาห์ที่ 10 วันที่ 12 August 2013





Sunday, July 28, 2013

บันทึกการเรียน ครั้งที่7


วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วันที่  28  กรกฎาคม 2556
กลุ่มเรียน101   วันจันทร์  เวลา 08.30-12.20น.


ชดเชยการเรียนการสอน  อบรมการทำสื่อกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย

Monday, July 22, 2013

บันทึกการเรียน ครั้งที่6


วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วันที่ 22  กรกฎาคม 2556
กลุ่มเรียน101   วันจันทร์  เวลา 08.30-12.20น.


ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากเป็นวันนหยุดเข้าพรรษา


Monday, July 15, 2013

บันทึกการเรียน ครั้งที่5

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วันที่ 15  กรกฎาคม 2556
กลุ่มเรียน101   วันจันทร์  เวลา 08.30-12.20น.

เนื้อหาที่เรียน
   -อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่อของเล่นต่อจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ความรู้ที่ได้รับ
-ISCI  ความฉลาดแบบยกกำลังสอง : เรื่อง "ลูกโปร่งรับน้ำหนัก"
-รู้รอบโลกวิทยาศาสตร์  เรื่อง "เมล็ดจะงอกไหม"
บรรยากาศในการเรียน
     -เพื่อนๆให้ความสนใจในการเรียน
การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้
      -ได้เห็นตัวอย่างการทำสื่อของเล่น เพื่อนำไปปรับใช้ในการผลิตสื่อที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้
งานที่ได้รับมอบหมาย
       -ให้นักศึกษาทำสื่อของเล่นมาส่งในสัปดาห์หน้า

รู้รอบโลกวิทยาศาสตร์  เรื่อง "เมล็ดจะงอกไหม"

Monday, July 8, 2013

บันทึกการเรียน ครั้งที่4

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วันที่ 8 กรกฎาคม 2556
กลุ่มเรียน101   วันจันทร์  เวลา 08.30-12.20น.

เนื้อหาที่เรียน
   -อาจารย์ให้นักศึกษาทำสมุดภาพเคลื่อนไหว
   -อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนออกมานำเสนอสื่อของเล่น
   -อาจารย์ให้นักศึกษาดู VDO เรื่อง"อากาศมหัศจรรย์"  คลิ๊กเพื่อชม
ความรู้ที่ได้รับ
     -ได้รู้เรื่องการทำภาพเคลื่อนไหวโดยใช้ ทฤษฎีภาพติดตา
     -ได้เห็นสื่อของเล่นต่างๆที่เพื่อนนำมาเสนอ
บรรยากาศในการเรียน
     -เพื่อนๆให้ความสนใจในการเรียนและตั้งใจชม VDO เรื่อง"อากาศมหัศจรรย์"  
การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้
      -ได้รับความรู้เรื่องอากาศมากยิ่งขึ้น และ ได้เห็นตัวอย่างการทำสื่อของเล่น เพื่อนำไปปรับใช้ในการผลิตสื่อที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้

เพิ่มเติม
          หลักการที่อธิบายถึงการมองภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ หรือทฤษฎีการเห็นภาพติดตา คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) โดยนักทฤษฎีและแพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อ Dr. John Ayrton Paris ทฤษฎีดังกล่าวอธิบายถึงการมองเห็นภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ไว้ว่า ธรรมชาติของสายตามนุษย์ เมื่อมองเห็นภาพใดภาพหนึ่ง หลังจากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังค้างภาพนั้นไว้ที่เรติน่าในชั่วขณะหนึ่ง ประมาณ 1/15 วินาที และหากในระยะเวลาดังกล่าวมีภาพใหม่ปรากฏขึ้นมาแทนที่สมองของมนุษย์จะเชื่อม โยงสองภาพเข้าด้วยกัน และหากมีภาพต่อไปปรากฏขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็จะเชื่อมโยงภาพไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าชุดภาพนิ่งที่แต่ภาพนั้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยหรือเป็นภาพที่มี ลักษณะขยับเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันอยู่แล้ว เมื่อนำมาเคลื่อนที่ผ่านตาเราอย่างต่อเนื่องในระยะเวลากระชั้นชิด เราจะสามารถเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้
         อย่างไรก็ตาม มีเคล็ดลับประการหนึ่ง ก็คือ ก่อนที่จะเปลี่ยนภาพใหม่จะต้องมีอะไรมาบังตาเราแว่บหนึ่ง แล้วค่อยเปิดให้เห็นภาพใหม่มาแทนที่ตำแหน่งเดิม โดยอุปกรณ์ที่บังตาคือซัตเตอร์ (Shutter) และระยะเวลาที่ซัตเตอร์บังตาจะต้องน้อยกว่าเวลาที่ฉายภาพค้างไว้ให้ดู มิฉะนั้นจะมองเห็นภาพกระพริบไป ดังนั้น เมื่อเอาภาพนิ่งที่ถ่ายมาอย่างต่อเนื่องหลาย ๆ ภาพมาเรียงต่อกัน แล้วฉายภาพนั้นในเวลาสั้น ๆ ภาพนิ่งเหล่านั้นจะดูเหมือนว่าเคลื่อนไหว หลักการนี้จึงถูกนำมาใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation) และภาพยนตร์ในระยะเวลาต่อมา

Sunday, July 7, 2013

สื่อการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สื่อการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สื่อการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอน มีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการสอนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม นักการศึกษาเรียกชื่อสื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน วัสดุการสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษา เป็นต้น
สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ หรือสื่อในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดสถานการณ์ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เนื้อหา ที่เป็นความรู้ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์
ชนิดของสื่อการสอน
สื่อการสอนที่ใช้ในการสอนมีหลายชนิดสำหรับเด็กปฐมวัยอาจกล่าวได้ว่าสิ่งใดก็ตามที่เป็นเครื่องช่วยให้เด็กวัยนี้มีพัฒนาการ นับว่าเป็นสื่อการสอนได้ทั้งสิ้น ได้แก่
1. ครู
ครูเป็นสื่อที่นับได้ว่ามีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นผู้ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวต่าง ๆ
ในการเรียนรู้และเป็นสื่อที่จะนำสื่ออื่น ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน หากปราศจากครู การเรียนการสอนก็จะไม่มีผลต่อเด็กในวัยนี้อย่างแน่นอน
2. สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
สื่อชนิดนี้ครูหรือผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจัดหาหรือทำขึ้น เพราะมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
เพียงแต่ผู้ใช้จะต้องเลือกตามความมุ่งหมาย เช่น การสอนเรื่องวงจรชีวิตกบ ก็ควรเลือกฤดูกาลที่เหมาะสม คือ ฤดูฝน เพื่อจะได้นำสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติมาศึกษาได้ แทนที่จะใช้วิธีวาดภาพไข่กบ ลูกอ็อด และลูกกบ ประกอบคำอธิบาย เป็นต้น
3. สื่อที่ต้องจัดทำขึ้น
สื่อชนิดนี้มีมากมายหลายชนิด สุดแต่ผู้ที่สนใจจะจัดซื้อ จัดหา หรือจัดทำขึ้น ได้แก่
ของจำลอง ภาพถ่าย ภาพวาด เกม วีดีทัศน์ ฯลฯ
นอกเหนือจากนี้ สื่อดังกล่าวอาจแบ่งออกตามลักษณะของการใช้ได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ เช่น ภาพ เปลือกหอย ฯลฯ
2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ เช่น วิทยุ เครื่องเล่นวีดีโอ เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ
3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ กระบวนการจัดกิจกรรม เช่น การสาธิต การทดลอง เกม
บทบาทสมมติ ฯลฯ
การจัดหาสื่อการสอนวิทยาศาสตร์
ก่อนที่ครูปฐมวัยจะจัดสื่อการสอนนั้นควรคำนึงถึงสื่อที่อยู่ใกล้ตัวก่อน ซึ่งอาจเป็นสื่อของจริงชนิดต่าง ๆ หรือสื่อสำเร็จรูป ได้แก่ ตุ๊กตา หุ่นจำลอง แล้วจึงคิดต่อไปว่าสื่อชนิดใดจะจัดทำขึ้นได้อย่างง่าย ๆ ประหยัดวัตถุดิบ ประหยัดเวลาและแรงงาน ได้ผลคุ้มค่า และใช้ประโยชน์ได้ตรงตามจุดประสงค์ที่วางไว้ ถึงแม้ว่าสื่อนั้นจะไม่สวยงามเท่ากับสื่อที่จัดทำขึ้นด้วยเครื่องจักรซึ่งมีความประณีตงดงามก็ตาม และที่สำคัญที่สุดก็คือ ถ้าครูสามารถผลิตสื่อได้เองก็จะเป็นการดี ไม่ต้องรองบประมาณในการจัดซื้อ
ครูปฐมวัยต้องจัดหาและรวบรวมสื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนั้นครูควรจะทราบถึงแหล่งของวัสดุอุปกรณ์ และวิธีการที่จะได้สื่อ วัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นมา
แหล่งสื่อที่ครูสามารถรวบรวมได้ ได้แก่
1 พ่อแม่และผู้ปกครองของเด็ก พ่อแม่และผู้ปกครองของเด็กเป็นจำนวนมากที่ได้สะสมวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้มาก เช่น เขาได้ไปเที่ยวทะเลมาเขาก็สะสมเปลือกหอยต่าง ๆ ไว้ ถ้าทางโรงเรียนได้บอกถึงความต้องการสิ่งเหล่านี้ ผู้ปกครองเด็กมีความยินดีที่จะบริจาคให้ หรือผู้ปกครองบางคนที่ไม่มีวัสดุอุปกรณ์อยู่ เขาอาจจะบริจาคเป็นเงินเพื่อให้ซื้อก็ได้ หรือบางคนอาจจะให้ยืมมาใช้
2 บุคคลต่าง ๆ ในชุมชน ได้แก่ เจ้าของร้านค้า โรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน บุคคลเหล่านี้จำนวนมากต้องการช่วยเหลือโรงเรียนอยู่แล้ว ถ้าโรงเรียนแจ้งความจำนง
3 ซื้อจากร้านค้า ซึ่งอาจจะหาซื้อได้จากร้านค้าที่เป็นของคุรุสภาหรือของเอกชนทั่ว ๆ ไป
4 ประดิษฐ์ขึ้นเอง ทางโรงเรียนอาจจะทำขึ้นมาเอง หรือเชิญคนในชุมชนที่มีความสามารถร่วมกันจัดทำ โดยใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น ในการรวบรวมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้น ครูควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
- ความปลอดภัย วัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาให้เด็กใช้ต้องปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ เช่น ไม่มีคมที่อาจบาดมือเด็กได้ หรือสีที่ใช้ต้องไม่มีอันตรายต่อสุขภาพเด็ก เป็นต้น
- ความเหมาะสม วัสดุอุปกรณ์ทึ่จัดหามานั้นต้องมีขนาดเหมาะสมกับวัยของเด็ก เด็กสามารถหยิบใช้ได้เอง นอกจากนั้นยังต้องเหมาะสมกับเรื่องที่สอนด้วย
- ราคาถูก ทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้เงินซื้อหรือซื้อก็ใช้เงินเพียงเล็กน้อย
- สะดวกในการขนย้ายและเก็บรักษา
- พยายามใช้สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติให้มากที่สุด เช่น ต้นไม้ อากาศ ไอน้ำ ฯลฯ
ในสภาพปัจจุบัน โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถจัดซื้อ จัดหาสื่อการสอนและของเล่นเด็กได้ครบถ้วนทุกประการ ทั้งนี้ครูปฐมวัยจึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มพูนทักษะ การคิดค้น ประดิษฐ์ สะสมวัสดุสิ่งของต่าง ๆ ที่พอจะหาได้ในท้องถิ่น เช่น ขวดพลาสติก จุกขวดฝาน้ำอัดลม กระป๋องนม เศษผ้า เศษไม้ กล่องกระดาษ ลังกระดาษ เมล็ดพืช ใบไม้ ดอกไม้ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ วัสดุต่าง ๆ เหล่านี้ หาได้จากเด็ก ๆ ในโรงเรียน เพื่อนครู เพื่อนบ้าน ครูปฐมวัยควรฝึกการชอบสะสมเศษวัสดุเพื่อนำมาผลิตเป็นสื่อ
การใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์
ในแต่ละวันที่จัดกิจกรรมให้เด็ก กิจกรรมนั้นควรมีสื่อเป็นเครื่องมือชักนำให้เด็กมีความสนใจในแต่ละกิจกรรมนั้น ๆ นานพอสมควร วิธีการใช้สื่อ โดยพิจารณาจากกิจกรรมจะขอกล่าวถึงกิจกรรมในวงกลมหรือกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นตัวอย่างของการใช้สื่อเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ของเด็ก โดยนำเนื้อหาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์พร้อมทั้งสื่อเสนอเป็นตัวอย่าง ดังนี้
1. กิจกรรมทายเสียงสัตว์
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักธรรมชาติเกี่ยวกับสัตว์
กิจกรรมและสื่อ ครูทำเสียงสัตว์ต่าง ๆ ให้เด็กทาย การทายนี้อาจจะให้เด็ก
ตอบปากเปล่าหรือใช้ภาพสัตว์ หรือชูภาพสัตว์ที่ครูทำไว้ ชู
ให้ครูและเพื่อน ๆ ดู
2. กิจกรรมทายกลิ่น
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
กิจกรรมและสื่อ
1) ครูลองหาสิ่งของต่าง ๆ เช่น ดอกกุหลาบ ดอกมะลิ
ผิวส้ม กะปิ ใบตะไคร้ ใบเตย ฯลฯ เท่าที่พอจะหาได้ให้
เด็กได้มีโอกาสดมและรู้จักจนแน่ใจ
2) ใช้ผ้าปิดตาผู้ที่จะทาย แล้วให้ผู้นั้นมีโอกาสเพียงดมกลิ่น
สิ่งต่าง ๆ ที่ละอย่าง แล้วตอบว่าแต่ละอย่างคือสิ่งใดบ้าง
3. กิจกรรมชิมรส
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักสิ่งแวดล้อมดีขึ้น
กิจกรรมและสื่อ
1) ครูนำสิ่งที่เด็กจะรับประทานได้โดยไม่เป็นอันตราย เช่น
เกลือ น้ำตาล มะนาว มะระ ฯลฯ มาให้เด็กมีโอกาสเห็น
และชิม
2) ใช้ผ้าปิดตาผู้เป็นอาสาสมัครแล้วให้ชิมสิ่งต่าง ๆ แล้วให้
ทายว่าสิ่งนั้นคืออะไร
4. กิจกรรมหลับตาคลำสิ่งของ
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักสังเกตลักษณะเด่นชัดของสิ่งของต่าง ๆ
กิจกรรมและสื่อ
1) ครูให้เด็กได้สัมผัสของเล่นหรือสิ่งของต่าง ๆ เช่น ผลไม้
ดอกไม้
2) ปิดตาอาสาสมัคร แล้วให้สัมผัสของแต่ละชนิดแล้วทาย
ว่าคืออะไร
5. กิจกรรมบอกส่วนต่าง ๆ ของพืช
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักส่วนต่าง ๆ ของพืช
กิจกรรมและสื่อ
1) ครูนำพืชที่มีส่วนประกอบสำคัญต่าง ๆ เช่น ราก ใบ ดอก
ผล มาให้เด็กพิจารณา และแนะนำส่วนสำคัญเหล่านั้น
2) ครูให้เด็กชี้บอกส่วนต่าง ๆ ตามครูบอกชื่อหรือใน
ทำนองกลับกัน ให้ครูเป็นฝ่ายชี้ให้เด็กบอกว่าส่วนของ
พืชที่ครูชี้นั้นเรียกว่าอะไร
6. กิจกรรมจับคู่แม่ลูก
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักลักษณะของสัตว์เมื่อยังตัวเล็ก-โต
กิจกรรมและสื่อ
1) ครูจัดทำภาพลูกสัตว์กับพ่อหรือแม่ของสัตว์ต่าง ๆ เหล่า
นั้น เป็นคู่ ๆ
2) นำภาพเหล่านั้นคว่ำลงปนกัน แล้วให้เด็กแข่งขันกัน
เลือกให้เข้าคู่เป็นคู่ ๆ
7. กิจกรรมแยกประเภทสัตว์
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักแบ่งประเภทของสัตว์อย่างง่าย ๆ
กิจกรรมและสื่อ
1) ครูจัดทำภาพสัตว์หลาย ๆ ชนิดที่เด็กรู้จักแล้ว แนะนำว่า
สัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์เลี้ยง สัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์ป่า
2) ให้เด็กแยกประเภทสัตว์ไปตั้งกับฉากที่จัดทำไว้เป็น 2
แบบ คือ ฉากป่า กับฉากบ้าน
8. กิจกรรมเกมสัตว์เลี้ยง
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักชื่อสัตว์ชนิดต่าง ๆ มากขึ้น
กิจกรรมและสื่อ
1) ให้เด็กแต่ละคนบอกชื่อสัตว์มาคนละชนิด และจำไว้ว่าตัวเองคือสัตว์ชนิดใด
2) จัดเด็กนั่งล้อมกันเป็นวงกลม โดยให้มีจำนวนเก้าอี้น้อย
กว่าผู้เล่น 1 คน ดังนั้นจะมีผู้เล่นซึ่งจะเป็นถามกลางวง 1
คน ผู้ถามจะถามใครก่อนก็ได้ “เธอรักสัตว์ต่าง ๆ ไหม” ถ้า
ผู้ถูกถามตอบว่า “รัก” ทุกคนรวมทั้งผู้ถามและผู้ถูกถามจะ
ต้องรีบลุกขึ้นเปลี่ยนที่นั่งซึ่งย่อมจะมีผู้ที่ไม่มีที่นั่งเหลืออยู่
คนหนึ่งเป็นคนถาม เมื่อมีการถามว่า “เธอรักสัตว์ต่าง ๆ
ไหม” และถ้าผู้ตอบตอบเช่นเดิม ทุกคนก็จะต้องลุกขึ้น
เปลี่ยนอีกที แต่ถ้าผู้ตอบคนใดตอบว่า “ไม่รัก” ผู้ถามจะต้อง
ซักต่อไปว่า “ไม่รักแมว ลิง หมา” ทุกคนที่สมมติตัวอย่าง
ว่าเป็นสัตว์เหล่านั้น ก็จะต้องลุกขึ้นเปลี่ยนที่และจะมีผู้ที่ไม่
มีที่นั่งเหลืออยู่ต่อไป (เกมนี้ครูควรจัดทำหน้ากากเป็นรูป
สัตว์ต่าง ๆ แจกให้เด็กแต่ละคนสวมด้วย เพื่อทุกคนจะได้
เห็นว่าเพื่อน ๆ ที่ร่วมแสดงนั้นเล่นเป็นตัวแทนสัตว์ชนิดใด
บ้าง
9. กิจกรรมลอกและพิมพ์เส้นใบของใบไม้
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กได้เห็นลักษณะของใบไม้ที่แตกต่างกันออกไป
กิจกรรมและสื่อ
1) ครูนำใบไม้ชนิดต่าง ๆ กระดาษขาว สีเทียนมาเตรียมเป็น
สื่อสำหรับเด็ก
2) เปิดโอกาสให้เด็กลอกเส้นของใบไม้ โดยการใช้กระดาษ
ทาบลงบนใบไม้ แล้วถูด้วยสีเทียน ลายเส้นของใบไม้จะ
ปรากฏขึ้นมาอย่างเห็นชัดเจน
10. กิจกรรมเลือกอาหารสัตว์
จุดประสงค์ เพื่อให้มีพื้นฐานในการเลี้ยงดูสัตว์
กิจกรรมและสื่อ
1) ครูสนทนากับนักเรียน เรืองสัตว์ชนิดต่าง ๆ แล้วอภิปราย
เกี่ยวกับอาหารสัตว์แต่ละชนิดชอบกิน
2) ครูจัดทำภาพอาหารสัตว์ชนิดต่าง ๆ และภาพสัตว์มาเพื่อ
ให้นักเรียนจับคู่โดยการโยงเส้น หรือใช้ริบบิ้นตัดโยง
ภาพสัตว์และอาหารที่สัตว์แต่ละชนิดชอบ
11. กิจกรรมสำรวจอ่างปลา
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักสังเกตเกี่ยวกับพืช สัตว์ และสิ่งที่ไม่มีชีวิตกิจกรรมและสื่อ
1) ครูให้นักเรียนมีโอกาสไปดูอ่างเลี้ยงปลาอย่างใกล้ ๆ เพื่อ
ดูสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในอ่างเลี้ยงปลานั้น
2) ครูถามนักเรียนด้วยคำถามง่าย ๆ เช่น มีสัตว์ชนิดใดบ้าง
ในอ่าง มีพืชชนิดใด และมีสิ่งใดบ้างที่ไม่ใช่พืชหรือสัตว์
12. กิจกรรมทายรอยเท้าสัตว์
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กรู้จักสังเกตลักษณะของรอยเท้าสัตว์ชนิดต่าง ๆ
กิจกรรมและสื่อ
1) ครูให้นักเรียนล้างเท้า แล้วเดินบนพื้นให้เป็นรอยเท้าของ
ตนเอง
2) ครูนำสัตว์บางชนิดที่หาง่าย เช่น สุนัข แมว มาพิมพ์รอย
เท้าของสัตว์เหล่านี้บนกระดาษขาว ให้เด็กได้สังเกต ต่อ
จากนั้นจึงดำเนินกิจกรรมทายรอยเท้าของสัตว์อื่น ๆ ต่อ
ไป โดยอาจจะต้องหาโอกาสนให้เด็กได้เห็นสัตว์หรือ
ภาพสัตว์ชนิดนั้นก่อน
13. กิจกรรมรุ้งกินน้ำจำลอง
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดรู้งกินน้ำ
กิจกรรมและสื่อ ครูหรือนักเรียนอาจทำรุ้งกินน้ำเอง โดยการอมน้ำไว้ในปาก
แล้วพ่นพานแสงแดดที่ส่องผ่านช่องลม หรือรอยแตกของ
ผนัง ซึ่งภายในห้องมืดจะเห็นลักษณะของรุ้งกินน้ำ เกิดขึ้น
ชั่วครู่หนึ่ง หากไม่ใช้วิธีอมน้ำพ่น อาจใช้กระบอกฉีดน้ำที่
ใช้พรมผ้าในขณะรีดผ้าแทนก็ได้
14. กิจกรรมแยกพวกสารแม่เหล็ก
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคุณสมบัติของแม่เหล็ก
กิจกรรมและสื่อ ครูนำของหลาย ๆ ชนิดใส่ไว้บนถาดหรือวางบนโต๊ะ แล้ว
ให้เด็กลองใช้แม่เหล็กเข้าไปใกล้ ๆ ของแต่ละอย่าง แล้ว
แยกว่าของชนิดใดที่ดูดติดกับแม่เหล็กก็ไว้พวกหนึ่ง พวกที่
ไม่ติดแม่เหล็กไว้อีกพวกหนึ่ง
15. กิจกรรมเกมเหยียบเงา
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กได้เห็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ
กิจกรรมและสื่อ ในตอนเช้าหรือบ่ายแดดอ่อนพอที่จะทำให้เกิดเงาที่มองเห็น
ได้ ครูอาจพานักเรียนมาเล่นเหยียบเงากัน โดยใครถูกคนอื่นเหยียบเงา ก็จะแพ้ต้องออกจากวงไป ทั้งนี้นอกจากจะได้รับความสนุกสนาน ได้ออกกำลังกายแล้ว ยังได้เห็นว่าเงาเกิดจากการที่ตัวเอง (ทึบแสง) กั้นแสงสว่างไว้
การจัดเก็บสื่อวิทยาศาสตร์
สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ ควรมีการจัดเก็บดังนี้
- การเก็บวัสดุอุปกรณ์ควรวางไว้บนชั้นที่ต่ำ เด็กสามารถหยิบยกด้วนตนเองได้
- วัสดุอุปกรณ์ใดที่จะต้องนำมาใช้ในเรื่องเดียวกัน ควรเก็บไว้ในกล่องเดียวกัน กล่องที่จะนำมาบรรจุวัสดุอุปกรณ์ควรเป็นกล่องเล็ก ถ้าใช้กล่องใหญ่เด็กอาจไม่สามารถยกได้และอาจตกลงมาทับเด็ก
- การจัดวัสดุอุปกรณ์ต้องจัดเพื่อยั่วยุให้เด็กเกิดความสนใจในการที่จะเอาออกมาทำกิจกรรม
- หมั่นตรวจเช็ควัสดุอุปกรณ์อยู่เสมอ ถ้าพบสิ่งใดชำรุดควรซ่อมแซม หรือไม่นำมาใช้
- ใช้ระบบสัญลักษณ์มาช่วยในการจัดประเภทวัสดุ ไม่ควรใช้ตัวหนังสือเพราะเด็กยังอ่านไม่ออก เช่นใช้สีเป็นเครื่องหมายบอกหมวดหมู่เพื่อให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้น หรือใช้ภาพ
ประโยชน์ของการใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์
1. ช่วยให้เกิดประสบการณ์ตรง โดยเด็กได้เห็น ได้ทดลองและได้ทำด้วยตนเอง
2. ช่วยให้เด็กเข้าใจบทเรียนดียิ่งขึ้นเพราะไม่ต้องอาศัยจินตนาการเพียงอย่างเดียว ซึ่งเกินความสามารถของเด็ก
3. ช่วยให้บทเรียนเป็นที่น่าสนใจแก่เด็กยิ่งขึ้น อันเป็นเครื่องยั่วยุให้เด็กเกิดความตั้งใจในการเรียนเป็นอย่างดี
4. ช่วยให้เด็กเห็นบทเรียนต่อเนื่องกัน เกิดความคิดและเข้าใจได้ง่าย เช่น ดูภาพยนตร์หรือภาพพลิกเกี่ยวกับความเจริญเติบโตของแมลง เห็นความเจริญเติบโตเป็นระยะ ๆ
5. ช่วยให้จัดกิจกรรมให้เด็กร่วมในบทเรียนง่ายเข้า
6. ช่วยให้ผู้เรียนจดจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้นานและมากขึ้น
7. ส่งเสริมให้มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนการสอนเพราะเด็กเรียนด้วยความสนุกสนานและ
เข้าใจ



Thursday, July 4, 2013

โครงการไหว้ครู

โครงการไหว้ครู  คณะศึกษาศาสตร์ 
 สถานที่  หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม




Monday, July 1, 2013

บันทึกการเรียน ครั้งที่3


วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
วันที่ 1 กรกฎาคม 2556
กลุ่มเรียน101   วันจันทร์  เวลา 08.30-12.20น.

เนื้อหาที่เรียน
    -อาจารย์ทบทวนเนื้อหาของสัปดาห์ที่ผ่านมา
    -อาจารย์ให้นักศึกษา เขียนสิ่งที่คาดหวังว่าจะได้รู้อะไรบ้างในวิชานี้ลงในกระดาษ
    -อาจารย์ให้นักศึกษาชม VDO เรื่อง ความลับของแสง  
ความรู้ที่ได้รับ
     -ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาตร์  ในเรื่องดังต่อไปนี้   
 -ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
      -กระบวนการทางวิทยาศาตร์
      -วิธีการทางวิทยาศาสตร์
      -แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาตร์
      -พัฒนาการทางสติปัญญา
      -ได้รู้ต้นกำเนิดของแสง  การทดลองต่างๆและประโยชน์ของแสง
บรรยากาศในการเรียน
     -เพื่อนๆให้ความสนใจในการเรียนและตั้งใจชม VDO เรื่องความลับของแสง 

การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้
      -ได้รับความรู้เรื่องแสงมากยิ่งขึ้น และ ได้เห็นการทดลองการทำสื่อ เพื่อนำไปปรับใช้ในการผลิตสื่อที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้
งานที่ได้รับมอบหมาย
       -ให้นักศึกษาสื่อ(วิทยาศาสตร์) มาคนละ 1 อย่าง